หากไม่มีสิทธิ์รับเงิน JobKeeper มีความช่วยเหลืออื่นอะไรบ้าง

คาดว่ามีลูกจ้างกว่า 2 ล้านคน ที่จะไม่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยค่าจ้างจากมาตรการด้วยต้นทุน 130,000 ล้านดอลลาร์ภายใต้โครงการ JobKeeper หากคุณพลาด มีความช่วยเหลือใดบ้างที่คุณอาจได้รับ?

People are seen queuing outside a Centrelink office in Bondi Junction, Sydney.

People are seen queuing outside a Centrelink office in Bondi Junction, Sydney. Source: AAP

กฎหมายการจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างด้วยงบประมาณรวม 130,000 ล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหพันธรัฐ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยรักษาตำแหน่งงานกว่าล้านๆ ตำแหน่งให้อยู่ต่อไป ช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ และช่วยปกป้องเศรษฐกิจออสเตรเลียจากวิกฤตไวรัสโคโรนา แต่กระนั้น มีลูกจ้างกว่า 2 ล้านคนที่คาดว่าจะไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากมาตรการนี้เลย

ลูกจ้างแคชวลที่ทำงานให้กับนายจ้างคนเดียวกันไม่ถึง 12 เดือน ลูกจ้างที่ถือวีซ่าชั่วคราว และลูกจ้างของรัฐบาลท้องถิ่นนั้น ต่างไม่ครอบคลุมอยู่ในมาตรการนี้

แผนให้เงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการ “ช่วยกู้เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด”เท่าที่เคยมีมาของชาติ โดยจะจ่ายเงินชดเชยค่าจ้าง 1,500 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์ให้ลูกจ้างราว 6 ล้านคน

มาตรการนี้มีออกมาหลังชาวออสเตรเลียหลายพันคนติดต่อเซนเตอร์ลิงก์ (Centrelink) เพื่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน และมีประชาชนจำนวนมากถูกบีบให้ต้องไปเข้าแถวรอที่หน้าสำนักงานเซนเตอร์ลิงก์เป็นเวลาหลายชั่วโมง
People are seen in a long queue outside a Centrelink office in Brisbane.
People are seen in a long queue outside a Centrelink office in Brisbane. Source: AAP

คุณมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่จะรับเงินชดเชยค่าจ้างนี้หรือไม่?

เงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper) ถูกออกแบบมา เพื่อช่วยยับยั้งการเลิกจ้างและการปิดกิจการของธุรกิจที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นอีก อันเนื่องมาจากมาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม

การชดเชยเงินค่าจ้างให้นี้จะเป็นการจ่ายเงินให้ลูกจ้างแทนนายจ้าง ซึ่งถูกบีบให้ต้องปิดกิจการ หรือลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างลง โดยจะมีการจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างให้ 6 เดือน

ลูกจ้างฟูลไทม์ และพาร์ทไทม์ทุกคน รวมทั้งลูกจ้างแคชวลที่ทำงานกับนายจ้างคนเดียวมานานกว่า 12 เดือน ผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียว (sole traders) และชาวนิวซีแลนด์ที่ถือวีว่า 444 จะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์นี้

มีธุรกิจกว่า 730,000 แห่งที่ได้ลงทะเบียนขอเข้าร่วมโครงการ โดยโครงการดังกล่าวเพิ่งผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาสหพันธรัฐเมื่อคืนวันพุธ (8 เม.ย.) ที่ผ่านมา

การจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างให้เป็นอัตราตายตัว หมายความว่า ลูกจ้างแคชวลบางคนที่มีชั่วโมงการทำงานจำกัดอาจได้รับเงินชดเชยที่มากกว่าที่พวกเขาหาได้จากค่าจ้างตามปกติ

Image

กว่า 2 ล้านคนที่เป็นลูกจ้างแคชวล และผู้ถือวีซ่าชั่วคราว พลาดโอกาสได้รับเงินช่วยเหลือนี้

แต่ลูกจ้างแคชวลที่ทำงานเป็นเวลาไม่ต่อเนื่องกัน เช่น ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมด้านศิลปะและบันเทิง และลูกจ้างที่ถือวีซ่าชั่วคราว ได้แสดงความวิตกว่าพวกเขาจะพลาดโอกาสได้รับความช่วยเหลือนี้

แต่รัฐบาลสหพันธรัฐได้ต้านทานต่อแรงกดดัน โดยไม่ยอมขยายการให้เงินชดเชยค่าจ้างให้ครอบคลุมลูกจ้างมากกว่านี้ แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากกลุ่มสหภาพแรงงานและพรรคแรงงานก็ตาม

นายปีเตอร์ สตรอง ประธานกรรมการบริหารของสภาธุรกิจขนาดเล็ก ได้เรียกร้องให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมมือกันหาทางเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

“เราต้องยอมรับว่ามันไม่สมบูรณ์แบบ รัฐบาลทำหน้าที่ของตนแล้ว ตอนนี้ พวกเราจะต้องไม่นั่งเฉยๆ แล้วบอกว่ามันไม่ดีพอ” เขาบอกกับกับ เอสบีเอส นิวส์

“พวกเราต้องทำให้มันใช้การได้ และนั่นหมายความว่านายจ้างและลูกจ้างจำเป็นต้องร่วมมือกัน”
Prime Minister Scott Morrison (left) and Australian Federal Treasurer Josh Frydenberg.
Prime Minister Scott Morrison (left) and Australian Federal Treasurer Josh Frydenberg. Source: AAP

สิ่งต่อไปนี้คือความช่วยเหลืออื่นๆ ที่อาจมีให้:

เพื่อสนับสนุนผู้ที่ขณะนี้ตกงาน รัฐบาลได้ขยายการให้เงินช่วยเหลือจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ที่ขณะนี้จ่ายให้ 1,100 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์ และมีเงินบรรเทาวิกฤตไวรัสโคโรนาให้อีก 550 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์ โดยจ่ายให้ไปถึง 6 เดือนข้างหน้า

ประชาชนจะสามารถรับเงินดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน เป็นต้นไป รวมทั้งผู้ที่ได้รับเงินสวัสดิการผู้ว่างงานก่อนหน้านี้แล้ว

ใบสมัครขอรับเงินจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ที่มีประชาชนยื่นเข้ามามากขึ้นกว่า 200,000 ราย ขณะนี้ได้รับการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

การประเมินรายได้สูงสุดของคู่ครองที่จะสามารถรับเงินสวัสดิการนี้ได้เพิ่มขึ้น จากเพดานรายได้ของคู่ครองสูงสุด 48,000 ดอลลาร์ ให้มากขึ้นเป็น 79,000 ดอลลาร์

รัฐบาลยังได้งดเว้นระยะเวลาการรอคอยก่อนที่จะสามารถรับเงินสวัสดิการได้ของผู้อพยพย้ายถิ่นที่เพิ่งเดินทางมาถึง (Newly Arrived Resident Waiting Period) ซึ่งหมายความว่าผู้อพยพย้ายถิ่นที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรจะสามารถรับความช่วยเหลือด้านรายได้เร็วขึ้นเป็นการชั่วคราว
คุณสามารถรับเงินเยียวยาวิกฤตไวรัสโคโรนา (Coronavirus Supplement) ได้หรือไม่?

นอกจากจะได้รับเงินจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ไปพร้อมกันแล้ว ผู้รับเงินสวัสดิการประเภทอื่นๆ จะสามารถได้รับเงินเยียวยาวิกฤตไวรัสโคโรนา (Coronavirus Supplement) 550 ดอลลาร์ได้เช่นกัน

ผู้ที่มีสิทธิ์ได้แก่ผู้รับเงินเบี้ยเลี้ยงเยาวชน (Youth Allowance) ผู้รับเงินสวัสดิการพ่อแม่ (Parenting Payment) ผู้รับเงินเบี้ยเลี้ยงครอบครัวเกษตรกรรม (Farm Household Allowance) และสวัสดิการพิเศษ (Special Benefit) ผู้รับเงินออสสตัดดี (Austudy) และแอบสตัดดี (Abstudy)

ในตอนแรกนั้น รัฐบาลสหพันธรัฐไม่ได้รวมนักเรียนชาวออสเตรเลียที่เรียนเต็มเวลา 230,000 คนในโครงการช่วยเหลือนี้ แต่ต่อมาได้ขยายให้ครอบคลุมนักเรียนเหล่านี้ภายหลัง

แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนต่างชาติยังคงถูกยกเว้นจากโครงการนี้ต่อไป

เงินช่วยเหลือที่จ่ายให้ก้อนเดียว

ผู้ที่ได้รับสวัสดิการพิเศษ รวมทั้ง ผู้ได้รับเงินบำนาญ ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือผู้พิการทุกพลภาพ ผู้ทำหน้าที่ให้การดูแล ผู้รับเงินออสสตัดดี และผู้รับเงินทหารผ่านศึก จะได้รับเงินสนับสนุนเศรษฐกิจ 750 ดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมเป็นต้นไป

เงินงวดที่ 2 เป็นจำนวนเดียวกันนี้ จะจ่ายให้โดยอัตโนมัติหลังวันที่ 13 กรกฎาคม

ความช่วยเหลือดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อให้แก่สมาชิกที่มีความเปราะบางที่สุดของชุมชน

การเข้าถึงเงินซูเปอร์แอนนูเอชัน

บุคคลที่ “ประสบความเดือดร้อนทางการเงิน” เพราะผลกระทบของการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา จะสามารถถอนเงินส่วนหนึ่งจากกองทุนเงินเก็บหลังเกษียณ หรือเงินซูเปอร์แอนนูเอชัน (superannuation) ของตนได้

โดยสามารถถอนออกมาได้ไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์ในปีการเงิน 2019-2020 นี้ และอีกไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์ ในปีการเงินถัดไป

บุคคลที่มีสิทธิ์ยังรวมไปถึง ผู้ว่างงาน ผู้ที่ได้รับเงินสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งเงินจ๊อบซีกเกอร์ เงินสวัสดิการพ่อแม่ และเงินเบี้ยเลี้ยงครอบครัวเกษตรกรรมด้วย
People are seen queuing outside a Centrelink office in Bondi Junction, Sydney.
People are seen queuing outside a Centrelink office in Bondi Junction, Sydney. Source: AAP

น่าผิดหวังเรื่องความช่วยเหลือสำหรับผู้ถือวีซ่าชั่วคราว

สหพันธ์สภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย หรือเฟคก้า ได้แสดงความผิดหวังอย่างยิ่ง ที่โครงการเงินชดเชยลูกจ้าง JobKeeper จะไม่ครอบคลุมถึงผู้ถือวีซ่าชั่วคราว

ผู้ถือวีซ่าเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้ง ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ลี้ภัย นักเรียนต่างชาติ และลูกจ้างวีซ่าทักษะ ยังไม่มีสิทธิ์รับเงินสวัสดิการประเภทต่างๆ เกือบทั้งหมดอีกด้วย

รัฐบาลสหพันธรัฐได้บอกกับผู้อพยพย้ายถิ่นที่ถือวีซ่าชั่วคราวที่กำลังเดือดร้อนทางการเงินว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะกลับบ้านไปเสีย” โดยระบุว่ามีความคาดหวังตั้งแต่แรกว่าพวกเขาจะต้องสามารถช่วยเหลือตนเองด้านการเงินได้

แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับวีซ่าบางประเภท รวมไปถึงอนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่อยู่ในออสเตรเลียมานานกว่า 12 เดือน สามารถถอนเงินสะสมหลังเกษียณหรือเงินซูเปอร์แอนนูเอชันของพวกเขาส่วนหนึ่งออกมาใช้ได้

รัฐบาลยังได้ขยายชั่วโมงการทำงานให้ผู้ถือวีซ่าบางประเภท ให้สามารถทำงานได้มากขึ้นในอุตสาหกรรมที่จำเป็น เช่น ด้านสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการทุกพลภาพ ด้านเกษตรกรรม และการแปรรูปอาหาร

ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการอาจมีให้แก่ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวบางประเภท หากพวกเขาประสบความเดือดร้อนทางการเงิน โดยเป็นเงินช่วยเหลือสวัสดิการพิเศษ (Special Benefit Payment)

ธุรกิจใดที่มีสิทธิ์ได้เงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper)

คาดว่าเงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper) งวดแรกจะไปถึงยังนายจ้างในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม

โดยกรมสรรพากรของออสเตรเลีย หรือเอทีโอ จะจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างจำนวน 1,500 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์สำหรับลูกจ้างแต่ละคน ที่ทำงานให้ธุรกิจที่มีรายได้ลดลงเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ร้อยละ 30 หรือมากกว่า

องค์กรการกุศลที่จดทะเบียน ที่มีรายได้ลดลงร้อยละ 15 หรือมากกว่า ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยค่าจ้างให้ลูกจ้างของตนเช่นกัน

สำหรับธุรกิจที่มีรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์ขึ้นไป และมีรายได้ลดลงเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนาร้อยละ 50 ขึ้นไป สามารถรับเงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์ได้

ขณะที่คณะรัฐมนตรีแห่งชาติ ยังได้ตกลงว่าแต่ละรัฐและมณฑลจะจัดการกับผลกระทบของวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อลูกจ้างของรัฐบาลท้องถิ่นตามที่แต่ละรัฐและมณฑลเห็นสมควร
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 April 2020 11:25am
Updated 10 April 2020 11:46am
By Tom Stayner
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends