รัฐวิกตอเรียไฟเขียวโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสนามบินนครเมลเบิร์น

The new line will link Melbourne Airport to the CBD (Supplied).jpg

รัฐบาลรัฐวิกตอเรียอนุมัติโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

หลังจากความล่าช้าในกระบวนการเจรจาเรื่องโครงการอัพเกรดสนามบิน เมลเบิร์นมานานหลายปี ขณะนี้รัฐบาลรัฐวิกตอเรียเปิดไฟเขียวในโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน


หลังจากความล่าช้าในกระบวนการเจรจาเรื่องโครงการอัพเกรดสนามบิน เมลเบิร์น ซึ่งเป็นสนามบิน ที่พลุกพล่านมากที่สุดแห่งหนึ่งของออสเตรเลียมานานหลายปี ขณะนี้โครงการดังกล่าวดูเหมือนจะเข้าใกล้ความจริงเข้ามาอีกก้าวหนึ่ง เมื่่อรัฐบาล รัฐวิกตอเรียเปิดไฟเขียวในโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D

สนามบินเมลเบิร์นเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 1970 ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่อำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางต่างประเทศอย่างมากในยุคนั้น

อย่างไรก็ตาม นักเดินทางที่มาถึงสนามบินทูลลามารีนบ่อยครั้ง จะรู้ดีว่าตัวเลือกในการเดินทางต่อไปในใจกลางเมืองที่มีระยะทาง 20 กิโลเมตรนั้นมีจำกัด

ซึ่งในขณะนี้โครงการที่จะแก้ปัญหานี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อรัฐบาลรัฐวิกตอเรียอนุมัติไฟเขียวในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบินสู่ใจกลางนครเมลเบิร์น

MELBOURNE AIRPORT
ขณะนี้สนามบินเมลเบิร์นมีทางเลือกจำกัดในการเดินทางไปในใจกลางเมือง Source: AAP / CON CHRONIS/AAPIMAGE

โครงการดังกล่าวหวังว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้โดยสารเกือบ 100,000 คนที่เดินทางมายังสนามบินเมลเบิร์นในแต่ละวัน

นอกจากนี้ยังจะช่วยสร้างงานกว่า 51,000 ตำแหน่ง และคาดว่าจะช่วยหมุนเวียนเม็ดเงินกว่า 5.9 พันล้านดอลลาร์ ในระบบเศรษฐกิจของรัฐวิกตอเรียในแต่ละปี เมื่อการสร้างรันเวย์แห่งที่ 3 เสร็จสิ้น ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลรัฐวิกตอเรียรอการการอนุมัติจากรัฐบาลกลางในเรื่องดังกล่าวอยู่

ประธานฝ่ายบริหารของสนามบินเมลเบิร์น ลอรี อาร์กัส ชี้ว่าแม้การสร้างสถานีใต้ดินจะมีผลดีในระยะยาวแต่การมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อในอนาคตอันใกล้สำคัญมากกว่า คุณ อาร์กัส เปิดเผยว่า

"เราเชื่อว่าในอนาคต สถานีรถไฟใต้ดินจะอำนวยความสะดวกได้ดีกว่า สำหรับเทอร์มินัลกลาง แต่ความจริงก็คือเราอาจทำตามแผนการดังกล่าวและพบว่าอีกปี หรือ สองปีข้างหน้า เราก็ยังไม่มีรางรถไฟเชื่อมต่อไปยัง CBD"
มุมมองของเรามีรถไฟไม่ว่าแบบใดก็ ดีกว่าไม่มีเลย ระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อกับสนามบินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชนและพนักงานของเรา
ประธานฝ่ายบริหารของสนามบินเมลเบิร์น ลอรี อาร์กัส


โครงการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสนามบินนี้ได้หยุดชะงักมาหลายปี จนกระทั่งในปีงบประมาณปีนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวการคลังของรัฐวิกตอเรีย ทิม พาลลาส ถูกกดดันให้พิจาณาการสร้าง

ทางรถไฟเชื่อมไปยังสนามบินรองของรัฐวิกตอเรีย นั่นคือ สนามบินอาวาลอน ในประเทศจีลอง แทน

ด้านมุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย จาซินตา อัลลัน กล่าวว่าทางผู้บริหารสนามบินเพิ่งเปลี่ยนจุดยืนหนึ่งวันก่อนการประกาศในวันจันทร์ (8 กรกฎาคม) มุขมนตรี อัลแลน ชี้ว่า

"ผู้บริหารสนามบิน เปลี่ยนใจเพียงแค่หนึ่งวันก่อนหน้าการประกาศของรัฐบาล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขา จะลบล้างความล่าช้าไปเกือบ 4 ปีจากการยืนกรานจะสร้างรถไฟใต้ดิน"

ผู้บริหารสนามบิน เมลเบิร์นลอรี อาร์กัส กล่าวว่าการประนีประนอมอาจนำไปสู่การดำเนินการโครงการนี้ให้แล้วเสร็จเร็วกกว่าที่รัฐบาลวิกตอเรียคาดการณ์ไว้ในเกือบ10 ปีข้างหน้า คุณ อาร์กัส อธิบายว่า

"ปัญหาประการหนึ่งคือการเจรจาประนีประนอมระหว่างกัน และเมื่อตอนนี้เราเต็มใจที่จะเปลี่ยนจุดยืน ซึ่งเราหวังว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นก่อนการคาดการณ์ไว้ เราอยากเห็นรางรถไฟเสร็จสิ้นก่อนที่รันเวย์แห่งที่3 จะเสร็จสิ้นราวๆปี 2030"

ความล่าช้าของโครงการเส้นทางรถไฟดังกล่าวทำให้เมลเบิร์นยังคงล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินในนครหลวงหลักๆ ของออสเตรเลีย เช่น

การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมสนามบินของนครซิดนีย์เริ่มต้นในปี 1995 และแล้วเสร็จทันโอลิมปิกปี 2000
เส้นทางรถไฟไปยังสนามบินของบริสเบนใช้เวลาเพียงสองปีในการสร้างระหว่างปี 1999 ถึง 2001

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขผู้โดยสารล่าสุดของสนามบินเมลเบิร์น ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในโครงการนี้
เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้สนามบินในจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในแต่ละปี ซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่า 76 ล้านคนภายในปี 2042


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  




Share