ไวรัสโคโรนา: ธุรกิจขนาดเล็กไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

กิจการเจ้าของคนเดียวจำนวน 1.5 ล้านธุรกิจในออสเตรเลียอาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เต็มที่ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลมอร์ริสันประกาศ เพื่อรับมือกับวิกฤตไวรัสโคโรนา

Prime Minister Scott Morrison.

Prime Minister Scott Morrison. Source: AAP

หลายฝ่ายยินดีกับการจะให้เงินอุดหนุนแก่ธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจต่อไปในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา แต่ยังมีความวิตกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 17.6 พันล้านดอลลาร์นี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียว (sole trader) ที่มีกว่า 1.5 ล้านคนในออสเตรเลียได้อย่างไร

มาตรการสำคัญหนึ่งคือการให้เงินอุดหนุนระหว่าง 2,000-25,000 ดอลลาร์ที่จะจ่ายให้โดยอัตโนมัติแก่ธุรกิจต่างๆ ที่จ้างงานลูกจ้าง โดยที่ธุรกิจเหล่านั้นจะต้องส่งรายงานการหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างให้แก่กรมสรรพากรแห่งออสเตรเลีย หรือเอทีโอ

แต่ธุรกิจในออสเตรเลียกว่า 3 ใน 5 ไม่ได้จ้างลูกจ้าง โดยมีเพียงเจ้าของกิจการคนเดียวเท่านั้นที่ทำงานในธุรกิจ
Treasurer Josh Frydenberg listens as Prime Minister Scott Morrison addresses economic stimulus measures.
Treasurer Josh Frydenberg listens as Prime Minister Scott Morrison addresses economic stimulus measures. Source: AAP
ในอุตสาหกรรมการจับกุ้งล็อบสเตอร์และปู ซึ่งนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ได้กล่าวถึงเป็นพิเศษว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตไวรัสโคโรนา มีธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้เพียง 516 ธุรกิจจากทั้งหมด 1,638 ธุรกิจที่มีการจ้างงานลูกจ้าง

นายมอร์ริสัน กล่าวว่า รัฐบาลของเขามุ่งเน้นไปยังนายจ้าง

“เรากำลังให้การสนับสนุนแก่ธุรกิจราว 690,000 แห่งที่จ้างงานชาวออสเตรเลีย เนื่องจาก อย่างที่ผมกล่าวไปแล้วว่า มันเป็นการช่วยให้ชาวออสเตรเลียมีงานทำต่อไป” เขาบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงแคนเบอร์รา เมื่อวันพฤหัสบดี (12 มี.ค.)
Patients line up at the Royal Melbourne Hospital for Coronavirus testing.
Patients line up at the Royal Melbourne Hospital for Coronavirus testing. Source: AAP
มาตรการชุดดังกล่าวยังรวมไปถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือ 750 ดอลลาร์ให้แก่ผู้รับเงินบำนาญและประชาชนที่รับเงินสวัสดิการจากรัฐบาลด้วย

เมื่อถูกถามว่าจะมีการให้ความช่วยเหลือหรือไม่ แก่กิจการเจ้าของคนเดียว (sole trader) ที่มีกิจกรรมการค้าขายหรือการให้บริการลดลง หรือเจ้าของธุรกิจเหล่านั้นป่วย นายกรัฐมนตรี ตอบว่า

“จะมีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อมีความต้องการมูลค่ารวม 4.7 พันล้านดอลลาร์ ส่งเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนกิจการเจ้าของคนเดียวต่างๆ เงินในส่วนนั้นมีไว้สำหรับเรื่องนี้”
A food delivery rider wears a face mask in the CBD of Sydney.
A food delivery rider wears a face mask in the CBD of Sydney. Source: AAP
“มันถูกออกแบบมาให้ปรับปรุงการหมุนเวียนเงินสดในธุรกิจที่ไหลเข้าสู่เศรษฐกิจ และแน่นอนว่า นั่นเพื่อสนับสนุนธุรกิจประเภทนั้น”

นายปีเตอร์ สตรอง หัวหน้า สภาองค์กรธุรกิจขนาดเล็กแห่งออสเตรเลีย (Council of Small Business Organisations of Australia) กล่าวว่า ขณะที่เข้าใจได้ว่าเหตุใดรัฐบาลจึงมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่จ้างงาน แต่จำเป็นต้องมีการให้ความช่วยเหลือในระดับหนึ่งแก่กิจการเจ้าของคนเดียวด้วย

“หากพวกเขาประสบความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากพวกเขาไม่มีลูกค้า ก็ควรจะมีมาตรการอื่นที่พวกเราต้องพิจารณา” นายสตรอง กล่าว

“เนื่องจากเมื่อวิกฤตไวรัสจบสิ้นลง แนวคิดเบื้องหลังมาตรการนี้ทั้งหมดคือ ช่วยให้พวกเขาสามารถกลับไปดำเนินธุรกิจดังเดิมได้”

เขายังได้ย้ำถึงเจ้าของธุรกิจที่ดำเนินกิจการจากบ้านราว 600,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

ยังไม่ชัดเจนว่าผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวจะสามารถรับเงินเบี้ยเลี้ยงเมื่อป่วยจากเซ็นเตอร์ลิงค์ได้หรือไม่ ซึ่งอีกไม่นานนี้เงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจะกลายเป็นเงินช่วยเหลือประเภทใหม่สำหรับผู้หางานทำ ซึ่งลูกจ้างแคชวลจะสามารถขอรับเงินช่วยเหลือประเภทนี้ได้ หากพวกเขาต้องหยุดงานเพราะเจ็บป่วย

นายสตรองกล่าวว่า ผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากที่สุด เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มพิเศษร้อยละ 25 เพื่อแลกกับสิทธิลาป่วย

นายแมตต์ กรัดนอฟฟ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ของสถาบันออสเตรเลีย กล่าวว่า มาตรการชุดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเหล่านี้ที่ถูกออกแบบมานั้น ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ โดยเฉพาะสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวและธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ

“เห็นได้ชัดว่า หากคุณเคยมีงานทำ แต่กลายเป็นไม่มีงานทำ คุณก็มีรายได้สำหรับใช้จ่ายน้อยลง”  เขาบอกกับ เอเอพี

“แต่ผลกระทบทางจิตวิทยาที่ใหญ่กว่านั้นคือ หากคุณวิตกเกี่ยวกับอนาคต คุณก็คงไม่รีบออกไปพัฒนาปรับปรุง (รีโนเวท) ห้องน้ำใหม่ หรือคงจะไม่ทำอะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียวต่างต้องพึ่งพาอาศัย”

การจ่ายเงินสดให้แก่ครัวเรือนต่างๆ เช่นเดียวกับที่จะจ่ายให้ผู้รับเงินบำนาญและผู้รับเงินสวัสดิการจากรัฐ 750 ดอลลาร์นั้น น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ในการรักษาความมั่นใจและช่วยรักษาระดับการใช้จ่ายได้ นายกรัดนอฟฟ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ของสถาบันออสเตรเลีย กล่าว
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 13 March 2020 11:30am
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends