ไวรัสโคโรนา: มีกลไกการทำงานและแพร่เชื้ออย่างไร?

NEWS: มีประชาชนอย่างน้อย 170 รายที่เสียชีวิตในประเทศจีน จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ต่างเร่งมือหาข้อมูลว่าเชื้อนี้มีกลไกการทำงานอย่างไร

An illustration of the 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), which first emerged in Wuhan, China.

An illustration of the 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), which first emerged in Wuhan, China. Source: Centers for Disease Control and Prevention

ไวรัสโคโรนานี้มีอันตรายต่อร่างกายขนาดทำให้ตายได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นเชื้อที่ติดกันได้ง่ายหรือไม่

อาการของเชื้อจะปรากฏเมื่อไร และผู้มีเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่บุคคลอื่นก่อนที่ตนเองจะมีอาการปรากฏหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญต่างกำลังพุ่งความสนใจไปยังประเด็นเหล่านี้ และคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบที่แน่ใจ

ยอดผู้เสียชีวิตจนถึงขณะนี้

จนถึงวันพฤหัสบดี ที่ 30 ม.ค.2020 พบผู้ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าติดเชื้อ 7,700 คนในประเทศจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเชื้อนี้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ไปแล้วอย่างน้อย 170 ราย

ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายจากเมืองอู่ฮั่นไปทั่วประเทศจีน และข้ามไปยังประเทศอื่นๆ อีก 15 ประเทศ โดยมีรายงานการพบผู้มีเชื้อนี้ราว 60 กรณี ในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และเมื่อเร็วๆ นี้ ในตะวันออกกลางด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากเชื้อนี้นอกประเทศจีน

เชื้อนี้ ที่ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า 2019-nCoV เป็นส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัสในกลุ่มตระกูลโคโรนา ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่อันตรายถึงตายมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้
การระบาดของโรคซาร์ส (SARS หรือ กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลัน) ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2002/2003 เริ่มขึ้นในมณฑลกวางตุ้งของจีน และคร่าชีวิตผู้คนไป 774 รายจากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 8,096 ราย

ในปี 2012 มีการระบาดของโรคเมอร์ส (MERS หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 858 ราย จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,494 ราย

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากเชื้อทั้งสองนี้ อยู่ที่ 9.5 สำหรับโรคซาร์ส และ 34.5 สำหรับโรคเมอร์ส ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้อย่างมาก
Passengers arriving at airport wearing masks
Passengers arriving at an airport wearing masks. Source: EPA
นายไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการด้านการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (30 ม.ค.) ว่ามีเพียงราวร้อยละ 2 ของผู้ได้รับการยืนยันว่ามีเชื้อนี้ ที่เสียชีวิต

“อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่ร้อยละ 2 นั้นยังถือว่าเป็นอัตราป่วยตาย (case fatality rate) ที่สูงอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราของเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือเชื้ออื่นๆ” นายไรอัน เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก กล่าว

ติดเชื้อกันได้ง่ายเพียงไร

การคาดการณ์ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาติดกันได้ง่ายเพียงใดนั้น มีทั้งแต่ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (base reproduction rate) ระหว่าง 1.4 และ 3.8 โดยเป็นอัตราการแพร่เชื้อจากคนไข้หนึ่งคนไปยังคนอื่นๆ จากข้อมูลของ ศ.เดวิด ฟิซแมน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต

ขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย อิมพีเรียล คอลเลจ ในประเทศอังกฤษ คาดว่าผู้มีเชื้อไวรัสโคโรนาแต่ละคนสามารถแพร่เชื้อไปติดยังคนอื่นได้โดยเฉลี่ย 2.6 คน ส่งผลให้เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายพอๆ กับการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ประจำปี

ผลการศึกษาเชื้อนี้ ที่ตีพิมพ์เมื่อวันพุธ ในวราสารด้านการแพทย์นิว อิงแลนด์ ระบุว่า ระยะเวลาระหว่างการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา จนกระทั่งผู้ติดเชื้อแสดงอาการนั้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 วัน

องค์กรด้านสาธารณสุขต่างๆ ของฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ กำหนดระยะเวลาการแยกผู้สงสัยว่ามีเชื้อออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ไว้ที่ 14 วัน สำหรับพลเมืองของตนและบุคคลอื่นๆ ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

มันจะเริ่มแพร่เชื้อได้เมื่อใด

นี่เป็นคำถามสำคัญที่ยังคงไม่มีคำตอบ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (26 ม.ค.) นายหม่า เสียวเว่ย หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพแห่งชาติของจีน กล่าวว่า การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนานั้นเป็นไปได้ก่อนที่จะมีการแสดงอาการให้เห็น ระหว่างที่เชื้อกำลังอยู่ในระยะฟักตัว
coronavirus
Medical staff work at Wuhan Jinyintan hospital in Wuhan City. Source: EPA
ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นเช่นเดียวกันกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่เป็นลักษณะที่แตกต่างจากเชื้อโรคซาร์ส

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่ม รวมทั้ง ศ.มาร์ก วูลเฮาส์ อาจารย์ด้านระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ ของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่า เชื้อนี้แพร่กระจายได้ตั้งแต่ตอนที่ผู้มีเชื้อไม่แสดงอาการของโรค

การติดเชื้อที่แพร่จากคนสู่คน

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ป่า โดยอาจเป็นค้างคาว แต่ขณะนี้แพร่กระจายจากคนสู่คน

กรณีการติดเชื้อจากคนสู่คนเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศจีน และยังมีกรณีการติดเชื้อในรูปแบบนี้ไม่มากนักเกิดขึ้นในเวียดนาม เยอรมนี และญี่ปุ่น

“ในทั่วโลกแล้ว มีเพียงไม่กี่กรณีโดดๆ ของการติดเชื้อระดับทุติยภูมิ (ของคนที่ไม่ได้เดินทางไปยังจีน)” นายสตีเฟน มอร์ริสัน จากศูนย์ด้านยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา ในกรุงวอชิงตัน กล่าว

แต่เขาเตือนว่า มีความเสี่ยงของการระบาดระดับทุติยภูมิ (secondary outbreaks) ของเชื้อนี้ในประเทศที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพจำกัด

อาการของเชื้อเป็นอย่างไร

จากผลการศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 99 ราย ที่เผยแพร่ออกมาในวราสาร เดอะ แลนเซต เมื่อวันพุธ (29 ม.ค.) พบว่า ครึ่งหนึ่งของกรณีการติดเชื้อเกิดกับประชาชนที่มีอาการป่วยเรื้อรังอยู่แล้ว เช่น เป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน

ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการปอดบวม ทั้งหมดมีไข้ และร้อยละ 80 มีอาการไอ และกว่าครึ่งหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก

แต่การจะระบุชี้อาการของไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญนั้น ยากลำบาก เนื่องจากการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และมีอาการของโรคเหมือนกัน
Fake coronavirus news is spreading on social media.
There has been claim that fake coronavirus news is spreading on social media. Source: Getty
การศึกษาวิจัยอีกโครงการหนึ่ง ระบุชี้ การจัดลำดับชุดของดีเอ็นเอ ที่บรรจุอยู่ในทุกๆ เซลล์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ที่นำมาจากผู้ป่วย 9 ราย และพบว่ามีความเหมือนกันจนเกือบเป็นตัวเดียวกัน (มีความเหมือนกันร้อยละ 99.98)

เวยเฟง ชี จากมหาวิทยาลัยชานตง กล่าวว่า นี่ชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาถือกำเนิดมาจากต้นกำเนิดเดียว และถูกตรวจพบได้ค่อนข้างรวดเร็วหลังจากนั้น

“แต่อย่างไรก็ตาม หากเชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายจากคนไปสู่คนมากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องมีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลาว่าอาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น” คุณเวยเฟง ชี กล่าว

การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

องค์การด้านสุขภาพต่างๆ และนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ทำได้ด้วยมาตรการมาตรฐานเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอย่างทั่วๆ ไป ได้แก่ การล้างมือของเราบ่อยๆ การปิดปากเมื่อไอหรือจาม และพยายามอย่าใช้มือจับบริเวณใบหน้าของเรา

ผู้ใดที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ควรต้องการแยกตัวออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

จากการที่ผู้ป่วยโรคซาร์สและเมอร์สจำนวนมากติดเชื้อในสถานที่ดูแลด้านสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำรอย ทีมนักวิทยาศาสตร์จีน เตือนในวราสารแลนเซตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Published 31 January 2020 10:55am
Updated 31 January 2020 2:51pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends